Settaluck Legal | หากเด็กผู้เยาว์ทำผิดกฎหมายใครต้องติดคุก
16752
post-template-default,single,single-post,postid-16752,single-format-standard,ajax_fade,page_not_loaded,,qode-theme-ver-10.1.1,wpb-js-composer js-comp-ver-5.0.1,vc_responsive
 

หากเด็กผู้เยาว์ทำผิดกฎหมายใครต้องติดคุก

หากเด็กผู้เยาว์ทำผิดกฎหมายใครต้องติดคุก

หากวันหนึ่ง… พ่อแม่ได้รับโทรศัพท์จากโรงเรียน แจ้งว่าลูกเราไปขโมยมือถือของเพื่อนนักเรียน และพ่อแม่นักเรียนนั้นจะเอาเรื่องดำเนินคดีตามกฏหมาย ท่านจะทำอย่างไร ลูกท่านต้องถูกฟ้องศาลลงโทษเหมือนผู้ใหญ่หรือไม่   อ่านต่อ….

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า “เด็ก เยาวชน ผู้เยาวน์” ก่อนว่าหมายถึงใคร หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า   สิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส (หมายความว่าหากเด็กต่ำกว่า18 ได้สมรสกันถูกต้องตามกฏหมายก็จะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป)

คำถาม : หากเด็กและเยาวชนได้กระทำความผิดทางกฎหมาย ต้องได้รับโทษเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ที่กระทำความผิดนั้นๆหรือไม่??
ตอบ โดยปกติแล้วผู้กระทำความผิดกฏหมายจะถูกนำตัวไปลงโทษตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ แต่สำหรับเด็ก และเยาวชนนั้น มีกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กไว้เป้น การเฉพาะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยศาลอาจจะไม่ลงดทษเด็ก หรืออาจลงโทษน้อยกว่าที่กฏหมายกำหนด หรืออาจจะใช้มาตรการอื่นแทนการลงโทษก้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการทำความผิด และช่วงอายุของเด็กที่กฏหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ

คำถาม: หากเด็กอายุ 5 ขวบกับเด็กอายุ 17ปี ทำผิดต้องได้รับโทษเท่ากันหรือไม่อย่างไร?
ตอบ คงต้องดูถึงวุฒิภาวะของเด้กแต่ละช่วงวัย ซึ่งเด้กแต่ละช่วงอายุมีความรู้รับผิดชอบชั่วดีต่างกัน การที่ต้องรับโทษจึงต้องแตกต่างกัน ซึ่งกฏหมายได้วางหลักไว้ ดังนี้

เด็กอายุไม่เกิน 10ปี กระทำความผิดทางอาญาเด้กนั้น ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฏหมายมองว่าเด็กในอายุช่วงดังกล่าวนั้น ยังมีวุฒิภาวะและประสบการณ์ความนึกคิด และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีน้อย หรือยังอ่อนต่อโลก และสังคมมาก จึงยังไม่สมควรได้รับการลงโทษ ยังให้โอกาสเด็กในการปรับตัวอยู่ในสังคมต่อไป (ประมวลกฏหมายอาญามาตรา73)

เด็กอายุเกิน10ปี แต่ไม่เกิน15ปี กระทำความผิดนั้น ทั้งนี้อาจไม่ต้องรับโทษก็เป็นได้ แต่ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือน หรือส่งตัวไปยังสถานฝึกอบรม หรือองค์กรที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดที่กระทำ และดุลพินิจของศาลท่าน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเด้ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวจะเริ่มคึกคะนองมากขึ้น ชอบทำตาม คล้อยตามได้ และถูกชังจูงได้ง่ายมาก ซึ่งกระบวนการยุติธรรมที่เห็นนั้นส่วนใหญ่และส่งเด็ก และเยาวชนเข้าอบรมเสมอในปัจจุบัน เพื่อขัดเกลาให้เป็นเยาวชนที่ดีต่อไป

บุคคลที่อายุเกิน15ปี แต่ต่ำกว่า18ปี ได้กระทำความผิด ศาลอาจลดโทษให้กึ่งหนึ่ง หรืออาจใช้วิธีการเดียวกับเด็กอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15ปีก้ได้ แล้วแต่กรณีไปโดยขึ้นอยู่กับความร้ายแรง และดุลพินิจศาล โดยปกติแล้วเด็ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวนี้ มักจะหลงผิดได้ง่ายเช่นกัน แต่กฏหมายมองว่าเด็ก และเยาวชนในช่วงอายุดังกล่าวนั้น มีสามัญสำนึกความรับผิดชอบชั่วดีเทียบเท่ากับผู้ใหญ่แล้วจึงเห็นควรลงโทษให้เทียบเท่าผู้ใหญ่ แต่ลดโทษให้เป็นกรณีไปตามความผิดที่เกิดขึ้นเท่านั้น

แล้วถ้ามิชฉาชีพอาศัยช่องว่างของกฎหมายนั้น ใช้เด็กเป็นผู้กระทำความผิดเองล่ะ เนื่องจากเด็กต่ำกว่า10ปี กระทำความผิดแล้วแต่ไม่ต้องได้รับโทษ คงต้องแยกออกเป็น2กรณีไป

กรณีแรก เด็กนั้นไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เช่น พ่อแม่สอนเด้ก 3 ขวบให้ไปแอบขโมยของคนอื่นเอามาให้แม่ โดยหลอกว่าเป็นของพ่อแม่เอง ซึ่งเด็กก็เข้าใจว่าเป็นของพ่อแม่จริงจึงไปเอามาให้พ่อแม่ เช่นนี้แล้วเด็กไม่ได้มีเจตนาในการกระทำความผิด แต่พ่อแม่เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดในทางกฏหมายถือว่าเป็นตัวการร่วม พ่อแม่ต้องรับผิดแม้จะมิได้เป็นผู้กระทำความผิดเอง และเด็กนั้นไม่มีความผิด เนื่องจากไม่มีเจตนาที่จะขโมยของ

กรณีที่สอง หากเป็นเด็กอายุ 9 ปี ซึ่งรู้เรื่องความผิดถูกพอสมควรแล้ว และไปขโมยของตามที่พ่อแม่สอนสั่งให้ทำ เช่นเดียวกันพ่อแม่ถือเป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิด ต้องรับดทษอย่างผุ้กระทำความผิด สำหรับเด็กเองถือว่าได้มีการกระทำความผิด เพราะทราบว่าเป็นการขโมย แต่ตามกฎหมายแล้วเด็กไม่ต้องรับผิด คงมีเพียงพ่อแม่ที่ต้องรับผิด

เด็กกระทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายใครต้องรับผิดชอบ?
ความรับผิดในทางแพ่ง คือการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นทั้งตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน จริงอยู่แม้เด็กที่กระทำผิดจะไม่ต้องรับโทษทางอาญา แต่อาจต้องมีความรับผิดในฐานะเป็นผู้กระทำละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิด กฏหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก้ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

ส่วนบิดามารดา หรือผู้ปกครองจะต้องรับผิดร่วมกับเด็กนั้นด้วย ตามประมวลกฏหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 429 ที่บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์ หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดา หรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น” (คำพิพากษาที่ 13789/2555 คำพิพากษาที่ 9774/2544)

ดังนั้น การที่เด็กและเยาวชน หากได้กระทำความผิดทางอาญา แม้จะไม่ต้องรับโทษอาญาตามกฏหมาย แต่ยังต้องรับผิดในทางแพ่ง และบิดามารดา หรือผู้ปกครองจะต้องร่วมรับผิดกับเด็กด้วย เว้นแต่จะใช้ความระมัดระวังในการดูแลเด้กแล้ว จึงเป็นอุทาหรณ์ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กทั้งหลายที่จะต้องระมัดระวังดูแลเด้กในการปกครองของตนเป็นอย่างดี เพราะมิฉะนั้น จะต้องเป็นคดีความทั้งในทางแพ่งและทางอาญาได้

ที่มา: บทความในนิตยสาร “บันทึกคุณแม่” คอลัมส์ “กฎหมายน่ารู้” 
โดย ชัชวัสส์  เศรษฐลักษณ์ ที่ปรึกษากฎหมาย-ธุรกิจ/ ทนายความ อดีตพิธีกรรายการ 

คุยกฎหมายกับทนายมวลชน”

ฉบับเดือน ตุลาคม 2558 (Vol.23 Issue 267 October 2015/ Page 116-117)